การเลี้ยงไก่ชน สัตว์เศรษฐกิจที่มาแรงขณะนี้ นอกจากตลาดในประเทศแล้วยังมีตลาดต่างประเทศอีกด้วย ตลาดต่างประเทศเป็นตลาดที่มีศักยภาพ มีแนวโน้มที่เติบโตมาก จากสถิติตัวเลขของกรมปศุสัตว์ ระบุว่า ปี ค.ศ.1999 มีการส่งไก่ชนไทยไปต่างประเทศตลอดทั้งปี รวม 3,628 ตัว( คงไม่นับรวมที่เดินข้ามแถบชายแดน) เป็นมูลค่าเท่าไรก็ต้องประมาณการเอาเอง ประเทศที่ส่งไปนั้นจากรายงานของกรมปศุสัตว์เช่นกันแจ้งว่าเมื่อปี 1999 มีการส่งไก่ชนไทยไป อินโดนีเซีย ( 3,513 ตัว ) บรูไน ( 26 ตัว ) กัมพูชา ( 20 ตัว ) สหรัฐอเมริกา (6 ตัว ) ฯลฯ ผู้ค้ารายใหญ่คงไม่มีปัญหาสำหรับการส่งออกหรือนำเข้า แต่รายใหม่รายย่อยหรือผู้สนใจอยากส่งไก่ไปขายเมืองนอก หรือสั่งไก่ชนจากต่างประเทศเข้ามาบ้างนั้นคงต้องศึกษาหาวิธีก่อน เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ท่านผู้อ่านจึงขอนำระเบียบของกรมปศุสัตว์เกี่ยวกับการส่งสัตว์ไปต่างประเทศ และการนำเข้ามาเสนอให้ทราบกันเพื่อเป็นแนวทางสำหรับผู้สนใจ ผู้ขออนุญาตนำสัตว์มีชีวิตไปยังประเทศใด ให้ติดต่อกับประเทศนั้นเพื่อขอทราบเงื่อนไข (Requirement) การนำสัตว์มีชีวิต เข้าประเทศนั้น ผู้ขออนุญาตฯ นำเงื่อนไข (Requirement) ที่ได้รับมาขอคำแนะนำจากสัตวแพทย์ด่านกักกันสัตว์ระหว่างประเทศประจำท่าออกที่ จะนำสัตว์ออก เพื่อเจ้าหน้าที่สัตว์แพทย์จะได้ดำเนินการตรวจสอบโรคสัตว์ ตรวจสอบฟาร์มเลี้ยงสัตว์และอื่น ๆตามเงื่อนไขที่ประเทศปลายทาง กำหนดให้ถูกต้องเรียบร้อยตามความประสงค์ของประเทศปลายทางนั้น ผู้ขออนุญาตยื่นคำร้องขอนำสัตว์ออกนอกประเทศด้วยตนเอง ไม่น้อยกว่า 15 วัน ก่อนนำออก ตามแบบฟอร์มที่กรมปศุสัตว์กำหนด ณ ด่านกักกันสัตว์ระหว่างประเทศประจำท่าออกนั้น พร้อมสำเนาบัตรประจำตัว หากไม่สามารถติดต่อด้วยตนเองได้ ให้ทำหนังสือมอบอำนาจพร้อม แบบสำเนาบัตรประจำตัวของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบมาด้วย ในกรณีที่สัตว์จะนำออกได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคระบาด หรือได้รับการทดสอบโรคระบาดแล้ว ให้ผู้ขออนุญาตนำหลักฐานการฉีด วัคซีน หลักฐานการทดสอบโรค มาแสดงประกอบขณะยื่นคำร้องต่อสัตวแพทย์ประจำด่านกักกันสัตว์ เพื่อพิจารณาอนุญาตนำออกราชอาณาจักรด้วย ผู้ขออนุญาตนำสัตว์ออกนอกราชอาณาจักรเพื่อการค้า ให้แนบสำเนาใบอนุญาตทำการค้าสัตว์ตามแบบฟอร์มของกรมปศุสัตว์ และแนบ ใบแสดงราคาสัตว์มาด้วยทุกครั้ง ผู้ขออนุญาตนำสัตว์ออกนอกราชอาราจักรต้องเขียนชื่ผู้ส่งออกและผู้รับปลายทางเป็นภาษาอังกฤษให้ถูกต้องตรงกับเอกสารต่าง ๆ โดยเฉพาะหนังสือเดินทางเพื่อเจ้าหน้าที่ใช้ประกอบในการพิจารณาออกใบรับรองสุขภาพสัตว์ เจ้าหน้าที่สัตวแพทย์จะออกหนังสือใบอนุญาตนำออกฯ (แบบ ร.9) และหนังสือรับรองสุขภาพสัตว์ ( Health Certificate) ฉบับภาษา อังกฤษให้ผู้ขออนุญาตนำสัตว์ออกนอกราชอาณาจักรทุกครั้ง เพื่อให้ผู้ขออนุญาตนำไปแสดงต่อสัตวแพทย์ด่านกักกันสัตว์ (ท่าเข้า) ของประเทศปลายทาง ผู้ขออนุญาตนำออกต้องติดต่อเจ้าหน้าที่สายการบิน หรือเจ้าหน้าที่เรือสินค้า และเจ้าหน้าที่ศุลกากรด้วยตนเอง โดยนำเอกสารหนังสือใบ อนุญาต (แบบ ร.9) ของกรมปศุสัตว์ไปแสดง ผู้นำสัตว์ออกนอกราชอาณาจักรต้องเสียค่าธรรมเนียมใบอนุญาตนำออกฯ ตามที่กำหนดในกฎกระทรวงที่ออกตามความในพระราชบัญญัติ โรคระบาดสัตว์ พ.ศ.2499 ขั้นตอนการส่งสัตว์เลี้ยงออกนอกราชอาณาจักร คำแนะนำ ในการยื่นคำร้องขออนุญาตส่งสัตว์ออกนอกราชอาณาจักร ควรมีเอกสารประกอบดังนี้ กรณีสุนัข แมว ส่งออก ถ้าเป็นนก หรือสัตว์ชนิดอื่น ต้องมีเอกสารรับรองการส่งออกจากกรมป่าไม้ หรือคำยินยอมให้ส่งออกได้จากเจ้าหน้าที่ด่านตรวจสัตว์ป่าท่าอากาศยานกรุงเทพฯ และหรือมีเอกสาร CITES กำกับ ติดต่อ สอบถาม ขอคำแนะนำเบื้องต้นจากเจ้าหน้าที่สัตวแพทย์ ด่านกักกันสัตว์ระหว่างประเทศประจำท่าเข้านั้น เนื่องจากสัตว์นำเข้าต้องผ่านการกักตรวจจากสัตวแพทย์ด่านกักกันสัตว์ระหว่างประเทศ ณ คอกกักกันสัตว์ของด่าน หากผู้นำเข้าประสงค์จะกักกันสัตว์ให้เจ้าหน้าที่สัตวแพทย์กรมปศุสัตว์ตรวจรับรองความเหมาะสมให้เรียบร้อยก่อน การยื่นคำร้องขออนุญาตนำเข้าฯ ผู้ขออนุญาตต้องดำเนินการล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 15 วันและควรจะติดต่อด้วยตนเอง โดยยื่นคำร้องเป็นหนังสือตามแบบที่กรมปศุสัตว์กำหนด พร้อมแนบสำเนาหลักฐานบัตรประจำตัวมาด้วยทุกครั้ง ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตไม่สามารถมาติดต่อด้วยตนเองได้ ให้มีหนังสือมอบอำนาจพร้อมสำเนาหลักฐานบัตรประจำตัว ผู้มอบอำนาจแนบมาด้วยทุกครั้ง กรมปศุสัตว์จะตรวจสอบสภาวะโรคของประเทศต้นทางจนมั่นใจว่าปลอดภัยจริง จึงออกหนังสืออนุมัติในหลักการ อนุญาตนำสัตว์เข้าราชอาณาจักรฉบับภาษาอังกฤษ (Import Permit) พร้อมกำหนดเงื่อนไข (Requirement) การนำเข้าของสัตว์นั้น ผู้ขออนุญาตเมื่อได้รับเอกสารหนังสืออนุมัติในหลักการอนุญาตนำเข้า ฉบับภาษาอังกฤษ (Import Permit) ของกรมปศุสัตว์แล้วให้นำส่งไปยังประเทศต้นทางทันที เพื่อประเทศต้นทางจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามเงื่อนไข (Requirement) ที่กรมปศุสัตว์กำหนด (เงื่อนไขประกอบการนำสัตว์เข้าประเทศของกรมปศุสัตว์ จะปรับปรุงสม่ำเสมอ เพื่อให้เป็นปัจจุบัน และป้องกันมิให้โรคระบาดสัตว์ ทุกชนิดจากต่างประเทศเข้ามายังประเทศไทย) ผู้ขออนุญาตต้องแจ้งเจ้าหน้าที่สัตวแพทย์ ณ ด่านกักกันสัตว์ระหว่างประเทศประจำท่าเข้านั้นทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 3 วัน ก่อนสัตว์เดินทางมาถึงเพื่อสัตวแพทย์ควบคุมรถบรรทุกสัตว์ไปยังสถานกักกันสัตว์ที่กรมปศุสัตว์กำหนด และออกเอกสารใบแจ้ง อนุมัตินำเข้า (ร.6) ให้ผู้ขออนุญาตนำไปติดต่อ ดำเนินการทางพิธีศุลกากรที่ด่านศุลกากรประจำท่าเข้านั้น สัตว์ที่นำเข้าต้องมีเอกสารหนังสือรับรองสุขภาพสัตว์ (Health Certificate) เป็นภาษาอังกฤษ ออกให้โดยสัตวแพทย์รัฐบาลผู้มีอำนาจเต็มจากประเทศต้นทาง ถ้าเอกสารรับรองเป็นภาษาอื่น ให้แปลเป็นภาษาอังกฤษ และรับรองโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลประเทศต้นทาง หรือเจ้าหน้าที่สถานฑูตประเทศต้นทาง ประจำประเทศไทย หนังสือรับรองสุขภาพสัตว์ต้องตรงตามเงื่อนไขการนำเข้าที่กรมปศุสัตว์กำหนดทุกประการ ถ้ามีหนังสือรับรองสุขภาพสัตว์ไม่ตรงตาม เงื่อนไขที่กรมปศุสัตว์กำหนด สัตว์นั้นจะไม่อนุญาตให้นำเข้าประเทศไทย สัตว์ที่นำเข้ามาทำพันธุ์ ต้องมีเอกสารหนังสือรับรองพันธุ์ประวัติ (Pedigree) แนบมาด้วยทุกครั้ง ผู้นำเข้าต้องเตรียมสำเนาเอกสารแสดงราคาสัตว์ มอบให้เจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์ทุกครั้งที่นำเข้าราชอาณาจักร การดำเนินการช่วงนำเข้า ผู้นำสัตว์เข้าราชอาณาจักรที่มิใช่สัตว์พันธุ์ หรือเป็นสัตว์พันธุ์แต่ไม่มีหนังสือรับรองพันธุ์ประวัติสัตว์นำเข้าฯ ประกอบมา ผู้นำเข้าต้องเสียค่าธรรมเนียมนำเข้าราชอาณาจักรที่กำหนดในกฏกระทรวงฯ ที่ออกตามความในพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2499 และแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2542 เมื่อเจ้าหน้าที่สัตว์แพทย์ตรวจสอบเอกสารครบถ้วนแล้ว จะแจ้งให้ผู้ขออนุญาตนำเข้า นำสัตว์ไปกักตรวจ ณ สถานกักกันสัตว์ที่กำหนด การดำเนินการหลังการนำเข้า สัตว์จะถูกนำไปกักกันดูอาการ ณ สถานกักกันสัตว์ที่กรมปศุสัตว์กำหนด ในระยะเวลาที่นักวิชาการสัตวแพทย์จะพิจารณา เพื่อให้นักวิชาการสัตวแพทย์ เก็บตัวอย่างต่าง ๆ จากสัตว์ไปตรวจทางห้องปฏิบัติการว่าปลอดโรค และผ่านพ้นระยะเวลาการกักกันแล้ว จึงจะอนุญาตเคลื่อนย้าย ออกจากสถานกักกันสัตว์ได้ โดยเจ้าหน้าที่สัตวแพทย์จะออกใบอนุญาตนำเข้า (ร. 7) มอบให้ผู้นำเข้าไว้เป็นหลักฐาน ในกรณีสัตว์ป่วย สัตว์ตาย ขณะเดินทางมาถึง หรือระหว่างกักกันดูอาการ ณ สถานกักกันสัตว์ เจ้าของสัตว์ต้องรีบแจ้งเจ้าหน้าที่สัตวแพทย์ กรมปศุสัตว์ทันที เพื่อเจ้าหน้าที่จะได้ดำเนินการช่วยเหลือ ให้คำแนะนำและ เก็บตัวอย่างส่งห้องปฏิบัติการ เพื่อชันสูตรโรคต่อไป แหล่งข้อมูล ไก่ชนการส่งไก่ชนไทย ไปต่างประเทศ
การนำออกสิ่งมีชีวิต
การดำเนินการล่วงหน้า
การดำเนินการช่วงนำออก
การนำเข้าสัตว์มีชีวิต
การดำเนินการล่วงหน้า
Please Enter Your Facebook App ID. Required for FB Comments. Click here for FB Comments Settings page